ร่มบ่อสร้าง ตั้งอยู่ใน อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ | ||||||||||||||||||
ภาพถ่าย | ||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||
ข้อมูล ประวัติร่มบ่อสร้างมีตำนานเล่าขานกันมานานนับร้อยปีว่า มีพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งชื่อพระ อินถา แห่งสำนักวัดบ่อสร้าง ได้เดินทางท่องธุดงด์ไปสถานที่ต่างๆจนกระทั่งถึงแถบชายแดนไทย – พม่า มีชาวพม่าใจบุญนำร่มมาถวายเพื่อใช้ป้องกันแดดฝน เมื่อพระอินถาได้เห็นร่มแปลกตาจึงไต่ถามว่า ได้มาจากแห่งหนใดจึงได้ขอติดตามไปเพื่อให้ได้เห็นที่มาของร่ม ท่านได้ศึกษาวิชาการทำร่มอย่างจริงจัง และจดจำได้แม่นยำ พร้อมนำกลับมาทำที่บ่อสร้าง จนเกิดเป็นโรงเรียนฝึกสอนวิชาทำร่มให้กับชาวบ้าน และกลายเป็นอาชีพของคนบ่อสร้างมาจนถึงปัจจุบัน ร่มบ่อสร้างเป็นสินค้าที่สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดเชียงใหม่มาช้านานหลายชั่วอายุคนแล้ว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเที่ยวเชียงใหม่ส่วนใหญ่จะต้องแบ่งเวลาแวะเวียนไปที่อำเภอสันกำแพง เพื่อชมและเลือกซื้อร่มบ่อสร้างที่“บ้านบ่อสร้าง”เป็นที่ระลึกติดมือกลับมา ชาวบ่อสร้างทั้งตำบลรวมไปถึงอีก 8 หมู่บ้านในตำบลใกล้เคียงของพื้นที่อำเภอสันกำแพง และอำเภอดอยสะเก็ดในจังหวัดเชียงใหม่ล้วนแต่เป็นแหล่งผลิตร่มด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่างานทำมือของชาวบ้านได้กลายเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่หลายร้อยครัวเรือนในหลายๆหมู่บ้าน การผลิตชิ้นส่วนร่มเป็นหน้าที่ของแรงงานที่เป็นชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้านตั้งแต่รุ่นพ่อเฒ่าแม่เฒ่าลงมาจนถึงคนหนุ่มสาวนับพันๆคน ดังนั้นบ่อสร้างจึงเป็นเพียงหมู่บ้านประกอบร่มโดยมีชิ้นส่วนต่างๆของร่มเดินทางมาจากต่างหมู่บ้าน ซึ่งส่วนประต่างๆของร่มที่เกิดจากแรงงานใต้ถุนบ้านและกระจายกันอยู่ทั่วไปก็จะมารวมกันอยู่ที่นี่เป็นจุดสุดท้าย การทำร่มบ่อสร้างมีมานับร้อยปี ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงมีความถนัดในการทำร่มแตกต่างกันไปตามชิ้นส่วนที่ได้รับมอบหมายในการผลิต เช่น หมู่บ้านสันพระเจ้างาม ผลิตหัวร่มและตุ้มร่ม บ้านออนทำโครงร่ม บ้านหนองโค้งหุ้มร่ม และลงสี บ้านแม่ฮ้อยเงิน อำเภอดอยสะเก็ดผลิตด้ามร่ม บ้านต้นเปาผลิตกระดาษสา แต่การประกอบชิ้นส่วนของร่มทั้งหมดจะมารวมกันอยู่ที่บ่สร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบายลวดลาย และสีสันบนผืนร่มที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์อันเลื่องชื่อของร่มบ่อสร้าง มีกลเม็ดเคล็ดลับในการทำร่มอยู่ที่การใช้แป้งเปียกผสมน้ำมะโก้ติดผ้า หรือกระดาษเข้ากับร่มทำให้ติดทนนานไม่หลุดร่อนก่อนเวลาอันควร และเวลาลงสีน้ำมันที่ต้องผสมกับน้ำมันมะมื้อหรือน้ำมันตังอิ๊วที่ทำให้ร่มทนแดด ทนฝน และใช้งานได้จริงไม่ว่าหน้าฝนหรือหน้าร้อน เพราะฉะนั้นนอกจากร่มบ่อสร้างจะเป็นของที่ระลึกสวยงามแล้วยังสามารถคุ้มแดดคุ้มฝนได้เป็นอย่างดี ร่มบ่อสร้าง เป็นสินค้าพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ สาเหตุที่เรียกว่าร่มบ่อสร้างเพราะร่มนี้ผลิตกันที่บ้านบ่อสร้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ททท. ภาคเหนือ เขต 1 โทร. 0-5324-8604, 0-5324-8607, 0-5324-1466 ขอขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์ ที่ให้การสนับสนนข้อมูล | ||||||||||||||||||
การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ตามถนนสายเชียงใหม่-สันกำแพง 9 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าบ้านบ่อสร้าง credit http://www.annaontour.com/province/chaengmai/boosrang.php |
สถานที่ท่องเที่ยวในภาคเหนือ สวยๆครับ ^^
คลังบทความของบล็อก
- มิถุนายน (12)
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556
| |||||||||||||
วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556
วัดร่องขุ่น
|
โครงการ ๑๐ ปี
อุโบสถวัดร่องขุ่น ( ภาพจากนิมิต ) "งานสร้างศิลป์เพื่อแผ่นดิน" ของ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (จิตรกรชื่อดัง) |
ผมใฝ่ฝันที่จะสร้างวัด (อุโบสถ) สักหลังก่อนตาย สาเหตุเพราะผมเป็นชาวพุทธแท้ ผมเป็นจิตรกร หลังจากที่ผมได้ทำบุญครั้งใหญ่ ปี ๒๕๒๗ ด้วยการเดินทางไปเขียนจิตรกรรมฝาผนังถวายเป็นพุทธบูชาที่วัดพุทธปทีป ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา ๔ ปี ผมหมดเงินที่เคยสะสมมา ผมเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ปี ๒๕๓๑ ผมกลับไปที่บ้านเกิดของผม เพื่อกราบหลวงพ่อและถวายรูปพิมพ์ผลงานวัดพุทธปทีปให้ท่าน วัดบ้านผมทรุดโทรมมาก หลวงพ่อสมภารสุขภาพไม่ดีและชราภาพมาก อุโบสถหลังเล็กๆ ที่ผมเคยจำความได้ เคยเห็นพ่อผมกับเพื่อน ๆ ท่านในหมู่บ้าน ชักไม้ด้วยช้างมาร่วมกันสร้างวัด ผมเคยเห็นหลวงพ่อ ตายาย พ่อแม่ และพี่น้องชาวบ้านเดินทางไปอาราธนาหลวงพ่อศิลาดำใส่เกวียนออกมาจากป่า ผมเข้าไปในโบสถ์ที่ใชัสังฆกรรมไม่ได้ด้วยเหตุเพราะชำรุดมาก และกลายเป็นที่อยู่ของค้างคาวฝูงใหญ่ ผมตั้งอธิษฐานจิต ถ้าชีวิตผมพร้อมเมื่อไหร่ ผมจะกลับมาสร้างโบสถ์ใหม่ให้ได้ เวลา ๑๐ ปี ผ่านไปด้วยกุศลจิต ชีวิตผมและครอบครัวประสบความสำเร็จทุกอย่างพร้อมแล้ว ผมกลับไปบ้านเกิดดำเนินการร่วมกับหลวงพ่อสมภาร เริ่มร่างรูปอุโบสถหลังใหม่ตามจิตนาการของท่าน เพื่อให้ท่านได้มีส่วนร่วม ดังนั้น โครงสร้างลักษณะสถาปัตยกรรมในปีแรกจึงเป็นแบบตามใจหลวงพ่อสมภาร ใน ๒ ปีต่อมา ผมได้มาเริ่มต่อเติมเพิ่มสถาปัตยกรรมให้สง่าแปลกตาขึ้น โดยเพิ่มบันไดด้านข้างขึ้น ประดับเปลวพระรัศมี ทั้ง ๔ แบบ และขุดสระสร้างสะพานข้ามเข้าสู่อุโบสถ พร้อมกับงานตกแต่งในเรื่องของลวดลายปูนปั้นประดับกระจกภายนอก เขียนแบบและหาช่างพื้นบ้านและแม่บ้านในหมู่บ้านมาฝึกสอนปั้นและประดับกระจกทั้งหมด ๑๐ คน ผมได้เริ่มงานมาถึงบัดนี้ ปี ๒๕๔๓ ๓ ปีแล้วครับ คาดว่า จะใช้เวลาอีก ๗ ปี ถึงจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ ทั้งลวดลายปูนปั้นภายนอกและจิตรกรรมฝาผนังภายใน ผมต้องหาเงินปีละประมาณล้านถึงสองล้านบาทเพื่อสร้างสรรค์ผลงานชิ้นสุดท้ายของชีวิตผมให้ดีที่สุด เท่าที่ฝีมือและสติปัญญาผมมีอยู่ วัดร่องขุ่นจะเป็นศิลป์สมบัติของคนไทยทุกคนและสุดท้ายวัดร่องขุ่นอาจเป็นศิลป์สมบัติอีกแห่งหนึ่ง ที่มีคุณค่าแก่โลกมนุษย์ในอนาคตก็ได้ แต่ทุกสิ่งไม่สำคัญเท่ากับบุญกุศลที่ผมและท่านผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านอุทิศถวายเพื่อเป็นทิพยสถานและพระนิพพานเป็นที่สุด กราบขอบพระคุณทุกท่านที่ได้ร่วมสร้างมหากุศลกับผม |
๐ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ๐
|
" ผมสร้างวัดไม่เคยเรี่ยไรเงินด้วยกฐินผ้าป่า ผมต้องการปัจจัยที่มาจากความบริสุทธิ์ใจของชาวพุทธ ที่ทำบุญเพื่อถวายพระพุทธเจ้า เพื่อพระศาสนาและพุทธศิลป์ของชาติ จริง ๆไม่ใช่ทำบุญเพื่อคิดช่วยผม " หากท่านผู้มีจิตศรัทธาในพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมของชาติจะร่วมบริจาคเงินสมทบกองทุน กรุณาติดต่อที่ พระครูชาคะริยานุยุต ( ท่านไสว ) เจ้าอาวาส วัดร่องขุ่น ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ๕๗๐๐๐ โทร (๐๕๓) ๖๗๓-๕๗๙ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ๓๖ ซอยอารีสัมพันธ์ ๓ ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทร. ๒๗๙-๒๐๔๔ , ๒๗๘-๑๓๐๒ , ๑๖๒ เรียก ๑๓๙-๑๘๘ หรือ โอนเงินเข้าบัญชี "วัดร่องขุ่น" บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี ๗๔๗-๑๐๐๖๗๗-๐ ธนาคารไทยพานิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสี่แยกแม่กรณ์ จังหวัดเชียงราย |
ภาพจาก : แผ่นพับประชาสัมพันธ์วัดร่องขุ่น - กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ |
ภาพจาก : นักท่องเที่ยวชาวเทศบาลเมืองรังสิต เม.ย. ๒๕๔๙ |
ข้อมูลวัด |
วัดร่องขุ่น ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ๕๗๐๐๐ โทร (๐๕๓) ๖๗๓-๕๗๙ | |
ความสำคัญ : | วัดราษฏร์ - กำลังสร้างอุโบสถโดยเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตกรเอก |
สังกัดคณะสงฆ์ : | มหานิกาย |
เว็บไซต์วัด : | http://www.watrongkhun.com |
แผนที่วัด : |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)